วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์

พัฒนาการของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์
l สมัยทฤษฎีดั้งเดิม
l สมัยทฤษฎียุคพฤติกรรมองค์การ-พฤติกรรมศาสตร์หรือวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งแรก
l สมัยทฤษฎียุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง
l สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่
ทฤษฎีและแนวการศึกษาสมัยดั้งเดิม
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ
l การบริหารแยกออกจากการเมือง
l องค์การระบบราชการ
l วิทยาศาสตร์การจัดการ
l หลักการบริหาร
ทฤษฎีและแนวการศึกษายุคพฤติกรรม
l การบริหารคือการเมือง
l องค์การแบบไม่เป็นทางการ
l มนุษยสัมพันธ์
l ศาสตร์การบริหาร
ทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ยุคใหม่
สภาพการณ์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
· ความเสื่อมศรัทธาต่อความถูกต้องของทฤษฎียุคดั้งเดิม
· การขาดเอกลักษณ์ของวิชา รปศ. ซึ่งเป็นที่ยอมรับ
· การขาดทางออกเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการจัดการกับปัญหาทางการบริหาร
· การเปลี่ยนแปลงทางด้านเนื้อหาและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์
ผลของการปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์
l มีความสนใจในการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์มากกว่าการศึกษาสถาบันทางการเมืองและรัฐบาล
l นักวิชาการทาง รปศ.ได้มีความสนใจศึกษาวิชาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหาร ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
l มีการรับเอาหลักการและกระบวนการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา รปศ.
l มีการให้ความสนใจกับความเป็นวิทยาศาสตร์ของ รปศ. มากกว่าการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสังคม (Mean ort.)
l สนใจศึกษาปัจจัยนำเข้าของระบบการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องของประชาชน (พฤติกรรม)มากกว่าปัจจัยนำออก (นโยบาย) ซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร
สรุปผลของแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ที่มีต่อการศึกษา รปศ.
l มีการประยุกต์ทฤษฎีระบบมาใช้ในกระบวนการศึกษาและการพัฒนาเทคนิคทางการบริหาร
l มีการให้ความสนใจในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับระบบราชการและการบริหารงานระหว่างประเทศ
ทฤษฎีระบบในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
บทบาทของทฤษฏีระบบต่อ รปศ.
l ความคิดเรื่องระบบได้กลายเป็นแนวการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์การที่สำคัญ
l ความคิดเรื่องระบบได้ช่วยวางพื้นฐานในการพัฒนาเทคนิคการบริหารต่างๆ
ความคิดระบบในทฤษฎีองค์การ
l องค์การคือระบบหรือกลุ่มของระบบย่อยที่เกี่ยวพันและส่งผลต่อกัน
l แม้กระบวนการดำเนินงานขององค์การจะเป็นเอกเทศแต่จะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง
l หน้าที่ขององค์การ คือ การตอบสนอง และรักษาดุลยภาพระหว่างองค์การและสภาพแวดล้อม
ความคิดระบบของ Simon และ March
l กระบวนการตัดสินใจในองค์การเป็นกระบวนการระบบ
l องค์การเป็นระบบใหญ่ที่เป็นที่รวมของระบบย่อย
l โครงสร้างหน้าที่ขององค์การมีพื้นฐานมาจากมนุษย์ และเป็นที่รวมของมนุษย์ ซึ่งตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมตลอดเวลา
l การศึกษากระบวนการตัดสินใจของคนในองค์การจะต้องทำความเข้าใจถึงระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลในองค์การ

ความคิดระบบของ Katz และ Kahn
l องค์การเป็นระบบเปิดที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม
l องค์การเป็นที่รวมของพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงที่
l พฤติกรรมของคนในองค์การจึงมีลักษณะที่มีเสถียรภาพและสามารถศึกษาเป็นวงจรได้
l องค์การคงอยู่ได้เพราะประกอบด้วยระบบย่อยที่แบ่งหน้าที่กันทำงานและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ความคิดระบบของ James D. Thompson
แนวคิดพื้นฐาน
l ใช้องค์การเป็นหน่วยวิเคราะห์ โดยมุ่งศึกษาพฤติกรรมขององค์การ มากกว่าพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ
l มุ่งหาคำตอบว่า องค์การมีการปรับตัวต่อความไม่แน่นอน อันเกิดจากเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมอย่างไร
l ยึดหลักสำคัญว่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดโครงสร้างขององค์การ คือ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การของ Thompson
l องค์การเป็นระบบเปิดที่ทำงานในสภาพที่ไม่แน่นอน
l องค์การพยายามดำเนินงานโดยใช้ความมีเหตุผล เพื่อเป็นการสร้างแน่นอนในการทำงาน
l องค์การจะต้องคอยปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
l องค์การจะจัดการกับความไม่แน่นอนโดยการแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเทคนิค ส่วนจัดการ และส่วนสถาบัน
l องค์การจะมีการสร้างอาณาเขต (Domain) ของตนว่า จะทำงานด้านใด เพื่อใคร และเสนอบริการอะไรบ้าง
l อาณาเขตจะเป็นตัวกำหนดว่า องค์การจะต้องพึ่งพาส่วนใดของสภาพแวดล้อม
l สภาพแวดล้อมที่มีส่วนต่อการกำหนดเป้าหมายและการบรรลุเป้าหมาย เรียกว่าสภาพแวดล้อมของงาน
l องค์การที่มีเหตุผลจะทำให้ตนพึ่งพาสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยใช้กลยุทธ์ ดังนี้
- การสร้างทางเลือกให้กับองค์การ
- การสร้างชื่อเสียงและการยอมรับให้กับองค์การ
- การสร้างอำนาจต่อรองกับสภาพแวดล้อมของงาน
l เพื่อสร้างความแน่นอนในการทำงานของส่วนเทคนิคองค์การจะพยายามแยกส่วนการผลิตออกจากสภาพแวดล้อมภายนอกโดยใช้กลยุทธ์ดังนี้
– สร้างกันชน
– เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
– ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
– จัดลำดับความสำคัญของสภาพแวดล้อม
– การสร้างกันชน เป็นการสร้างระบบเพื่อรองรับหรือชะลอผลกระทบจากสภาพแวดล้อม เช่น การสำรองวัตถุดิบในการผลิตไว้จำนวนหนึ่ง
– การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นการปรับแนวทางการจัดบริการ เพื่อจูงใจหรือเปลี่ยนพฤติกรรมของสภาพแวดล้อม(ผู้ใช้บริการ)ให้เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการ
– การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เป็นการปรับแนวทางการบริหารหรือการจัดบริการขององค์การให้สอดคล้องกับความต้องการของสภาพแวดล้อม(กลุ่มเป้าหมาย)
– การจัดลำดับความสำคัญของสภาพแวดล้อม เป็นการกำหนดหรือจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายหรือภารกิจหลักที่องค์การจะให้ความสำคัญมาก-น้อย/ก่อน-หลัง
l องค์การจะพยายามป้องกันอาณาเขตของตนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
– การชดเชยด้วยการบีบคั้นสภาพแวดล้อมส่วนอื่นแทน เช่น การต่อรองราคาต้นทุนกับผู้ผลิต เพื่อนำมาลดราคาสินค้าให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น
– การขยายสภาพแวดล้อมของงานออกไป(ขยายฐานกลุ่มเป้าหมาย) เช่น มหาวิทยาลัยก็มีการขยายเข้าสู่กลุ่มเด็ก กลุ่มคนทำงาน (ต่อเนื่อง) กลุ่มชุมชน
l การออกแบบองค์การเพื่อลดความไม่แน่นอนในการทำงาน ตัวอย่างคือ การสร้างหรือผนวกกิจกรรมที่จำเป็นในการบริหารงานขององค์การหรือที่ต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อมไว้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ เช่น มหาวิทยาลัยได้จัดบริการศูนย์จำหน่ายหนังสือ และบริการด้านหอพักแก่นิสิต โรงแรมต้องมีไนท์บาร์บริการลูกค้า เป็นต้น
การขยายอาณาเขตขององค์การ
ลักษณะการผลิต (เทคโนโลยี) ขององค์การจะเป็นปัจจัยกำหนดการออกแบบหรือการขยายอาณาเขตขององค์การ ดังนี้
l องค์การที่มีเทคโนโลยีแบบสายการผลิต จะขยายอาณาเขตของตนโดยขยายกิจกรรมเข้าไปในแนวตั้ง (เชิงลึก)
l องค์ที่มีระบบการผลิตแบบเป็นตัวกลาง จะขยายอาณาเขตของตนโดยการขยายวง(ฐาน)ของลูกค้า เช่น การตั้งสาขา
l องค์การที่ใช้เทคโนโลยีหลายแบบและการทำงานขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก จะขยายอาณาเขตโดยการดึงปัจจัยภายนอกให้มาอยู่ในอาณาเขตขององค์การ เช่น มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีกับรูปแบบการประสานงาน
l ลักษณะเทคโนโลยีขององค์การจะมีส่วนทำให้หน่วยงานย่อยในองค์การต้องพึ่งพากันใน 3 ลักษณะ คือ
– การพึ่งพากันในส่วนรวม แต่ละหน่วยเป็นอิสระ แต่ผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยจะส่งผลต่อส่วนรวม
– การพึ่งพากันตามลำดับ แต่ละหน่วยจะอาศัยผลผลิตจากอีกหน่วยหนึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าต่อเนื่องไปเป็นลำดับ
– การพึ่งพาระหว่างกันและกัน ผลผลิตของแต่ละหน่วยจะเป็นปัจจัยนำเข้าที่จะใช้ในการผลิตของหน่วยอื่นๆ
l การพึ่งพาแต่ละรูปแบบ จะทำให้องค์การต้องใช้วิธีการประสานงานที่แตกต่างกัน ดังนี้
– การพึ่งพากันในส่วนรวม จะประสานงานโดยการสร้างมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล
– การพึ่งพากันตามลำดับ จะประสานงานโดยการวางแผนกำหนดขั้นตอนและตารางการทำงานให้สอดคล้องกัน
– การพึ่งพาระหว่างกันและกัน จะประสานงานโดยการร่วมกำหนดความต้องการระหว่างกันและกัน
สภาพแวดล้อมกับรูปแบบโครงสร้างองค์การ
สภาพแวดล้อมขององค์การจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบโครงสร้างขององค์การดังนี้
กลมกลืน
หลากหลาย
มีเสถียรภาพ
มีการเคลื่อนไหว
- หน่วยงานลักษณะคล้ายกัน
- จำนวนน้อย
-ใช้กฎเกณฑ์สากลในการทำงาน
- หน่วยงานลักษณะคล้ายกัน
- จำนวนน้อย
-ลดกฎเกณฑ์สากลในการทำงาน

- หน่วยงานลักษณะแตกต่าง
- จำนวนมาก
-ใช้กฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วย
- หน่วยงานลักษณะแตกต่าง
- จำนวนมาก
-กระจายอำนาจการตัดสินใจ ให้แต่ละหน่วย

ทฤษฎีระบบในเทคนิคการบริหาร
l ในการศึกษา รปศ. ได้นำหลักการหรือเทคนิคทางสาขาวิชาอื่นๆโดยเฉพาะการบริหารมาใช้ในการศึกษาเรื่องการบริหารงานภาครัฐ
l มีการศึกษาและพัฒนาเทคนิคทางการบริหารต่างๆ เช่น MBO PERT รวมทั้งเทคนิคทางการบริหารที่มีพื้นฐานจากแนวคิดเชิงระบบ เช่น PPB เป็นต้น
วิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ
แนวคิดพื้นฐาน
l ความล่มสลายของทฤษฎีหลักการบริหารที่อ้างว่าใช้ได้กับทุกสังคมและทุกสถานการณ์
l ลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดลักษณะการบริหารงานภาครัฐของแต่ละประเทศ
l อิทธิพลของแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เน้นการแสวงหาทฤษฎีหรือหลักการ ในการอธิบายปรากฎการณ์ทางการบริหาร โดยศึกษาเปรียบเทียบเชิงประจักษ์จากข้อเท็จจริง
แนวการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ
l Regime Analysis
l Prismatic - Sala Model
l Weberian Model
l Almond - Powell Model
l Development Administration
แนวการวิเคราะห์ระบอบการปกครอง
l มุ่งศึกษาเปรียบเทียบระบบราชการภายใต้ระบบการเมืองหรือระบอบการปกครองของประเทศต่างๆ
l ถือว่าระบบราชการคือโครงสร้างหรือเครื่องมือทางการบริหารของรัฐที่สำคัญอันหนึ่งในทุกระบอบ
l การศึกษาเปรียบเทียบระบบราชการจะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ของระบบ (Strutural-Functional App.)
l ประเด็นการศึกษาจะมุ่งหาคำตอบเกี่ยวกับลักษณะของระบบ การทำหน้าที่ของระบบ และการถูกควบคุมของระบบ
l ปัจจัยที่มีส่วนในการกำหนดรูปร่างของระบบราชการ คือ ลักษณะของระบบการบริหารของประเทศ และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
l ลักษณะของระบบการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าระบบราชการของแต่ละประเทศจะมีลักษณะอย่างไร และจะถูกควบคุมจากกลไกภายนอกเพียงใด
ลักษณะของระบบราชการภายใต้ระบบการเมือง
l ระบบเผด็จการแบบประเพณีนิยม เป็นระบบการปกครองที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการทำงานให้ฝ่ายปกครอง
l ระบบข้าราชการเป็นผู้นำ เป็นระบบที่อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของข้าราชการ และเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ ระบบราชการมีความเข้มแข็งและผูกขาดอำนาจ มักจะยึดประเพณีปฏิบัติในการทำงานมากกว่าผลสำเร็จของงาน
l ระบบประชาธิปไตยแบบแข่งขัน มีการแข่งขันกันทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ การบริหารงานของรัฐบาลจะเน้นเป้าหมายระยะสั้นเพื่อเอาใจกลุ่มต่างๆ ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล
l ระบบกึ่งแข่งขันทางการเมือง เป็นระบบที่ฝ่ายบริหารและผู้นำทางการเมืองเข้มแข็ง มีอำนาจเด็ดขาดทางการเมือง ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการบริหารและเข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบาย
l ระบบผู้นำทางการเมือง เป็นระบบการปกครองที่ผู้นำของประเทศมีความสามารถและมีบารมีเฉพาะตัวที่ประชาชนศรัทธา ระบบราชการมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ข้าราชการเป็นผู้มีความสามารถและมีบทบาททางการบริหารประเทศ
l ระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เป็นระบบที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียวและใช้วิธีการบริหารแบบเผด็จการ ระบบราชการมีความลับและซับซ้อน มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามนโยบายด้วยความจงรักภักดี
Prismatic-Sala Model
l เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระบบราชการโดยทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาเป็นหลัก
l ใช้แนวทางการศึกษาในเชิงโครงสร้างและหน้าที่ เพื่อจำแนกระดับการพัฒนาของสังคมหรือประเทศ โดยอาศัยหลักการในการทำให้แตกต่าง และการบูรณาการเป็นมิติในการพิจารณา
l ประเทศที่พัฒนาแล้วจะประกอบด้วยโครงสร้างการบริหารจำนวนมากในการทำหน้าที่เฉพาะเรื่อง ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะมีโครงสร้างจำนวนน้อยเพื่อทำหลายหน้าที่ไปพร้อมกัน
l นอกจากการใช้มิติเรื่องความแตกต่างที่ใช้จำแนกระดับการพัฒนาแล้ว ยังมีการใช้มิติเรื่องการบูรณาการของโครงสร้าง-หน้าที่มาพิจารณาประกอบด้วย
l ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนา นอกจากจะมีโครงสร้างการบริหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเรื่องจำนวนมากแล้ว ยังต้องมีการบูรณาการอย่างกลมกลืนของโครงสร้างดังกล่าวด้วย
l สังคมที่พัฒนาแล้วเรียกว่า Diffracted และสังคมกำลังพัฒนาเรียกว่า Fused
l มีสังคมกำลังพัฒนาบางสังคม ที่เรียกว่า Prismatic ซึ่งมีการจัดองค์การและรูปแบบการบริหารที่ทันสมัยแต่ทำงานอย่างยึดถือรูปแบบดั้งเดิม เป็นสภาพการณ์ที่เรียกว่า ความเป็นทางการจอมปลอม
l ระบบราชการที่มีลักษณะความเป็นทางการจอมปลอมนี้ เป็นลักษณะสำคัญของระบบการบริหารในประเทศที่มีสังคมแบบ Prismatic และเรียกระบบราชการในรูปแบบนี้ว่า Sala
ลักษณะของระบบราชการแบบ Sala
l ระบบราชการเข้มแข็งและมีอำนาจมาก มีการเติบโตกว่าระบบการเมือง ข้าราชการจึงเข้าไปมีบทบาท (เข้าไปมีตำแหน่ง/มีอำนาจเหนือ)ในทางการเมือง
l เมื่อระบบราชการมีอำนาจทางการเมืองมาก จึงทำให้มีการผูกขาดอำนาจในการบริหารประเทศ เกิดการทุจริต ความด้อยประสิทธิภาพ และความไม่เป็นธรรมในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
l วิธีการทำงานของข้าราชการ มีความคละเคล้ากันระหว่างประเพณีแบบเดิมและหลักการสมัยใหม่
รัฐประศาสนศาสตร์ ในความหมายใหม่
New Public Administration
พัฒนาการของ New P.A./Post-behaviorism
l มีการเรียกร้องของนักวิชาการทางสังคมศาสตร์ ให้วิชาทางสังคมศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงทางสังคมมากยิ่งขึ้น
l มีการต่อต้านแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ ที่เน้นเรื่องปรัชญาและวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ หรือการพัฒนาทฤษฎีและหลักวิชาการจนทำให้วิชาทางสังคมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงในการทำความเข้าใจกับโลกความเป็นจริง
พัฒนาการของ New P.A./Post-behaviorism
l ให้หันมาเน้นการศึกษาเรื่องค่านิยมและการทำความเข้าใจปรากฎการณ์ความเป็นจริง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม
แนวคิดของ New P.A.
l มุมมองของ John Rehfuss สรุปแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ New P.A. ไว้ 3 ประการคือ
– การบริหารงานของรัฐต้องยึดหลักความยุติธรรมในสังคม เพื่อความเสมอภาคของคนทุกกลุ่ม
– องค์การหรือหน่วยงานต้องให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ
– นักบริหารต้องเป็นผู้ทำงานด้วยความกระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบต่อการสนับสนุนความยุติธรรมในสังคม
l Allen Schick เห็นว่า New P.A. เปรียบได้กับความพยายามในการแสวงหาทฤษฎีทางการเมืองใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งเป็นเรื่องของการเมือง โดยมีหลักคือ
– การศึกษาปัญหาและเรื่องราวต่างๆ ในโลกความเป็นจริง
– การเน้นเรื่องค่านิยมและสิ่งที่ควรจะเป็น (Normative)
– การสนับสนุนความยุติธรรมทางสังคมและการบริการประชาชน
– การสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การเพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจทางการเมืองและการบริหาร
สรุปแนวคิดของ New P.A.
l New P.A. ยึดถือหลักปรัชญาแบบปรากฎการณ์วิทยาแทน ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยา ที่ถือหลักว่าค่านิยมแยกจากข้อเท็จจริง จึงสามารถใช้การศึกษาเชิงประจักษ์ เพื่อแสวงหากฎของธรรมชาติจากข้อเท็จจริงได้ โดยไม่คำนึงถึงโลกความเป็นจริงและประโยชน์ต่อสังคม
l New P.A. ต้องการให้เนื้อหาวิชาเกี่ยวข้องโดยตรงกับโลกความเป็นจริง ได้แก่ ความทันต่อสภาพการณ์ที่ผันแปร ทันต่อปัญหาในสังคม และการใช้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจโลกความเป็นจริงของนักปฏิบัติ
l ความทันต่อสภาพการณ์ของ New P.A. หมายถึง การเน้นเรื่องความยุติธรรมในสังคม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายใหม่ของแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เพิ่มเติมจากเป้าหมายทางการบริหารที่มุ่งเน้นที่ความมีประสิทธิภาพ และการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
ความยุติธรรมทางสังคม (Social Equity)
l เป็นการมองในเรื่องใดบ้าง
l ความเสมอภาคของประชาชนในการรับบริการสาธารณะ
l ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในการตัดสินใจกำหนดและดำเนินนโยบาย
l การมุ่งสนองความต้องการประชาชนมากกว่าความต้องการขององค์การ
New P.A. กับ Social Equity
l การยึดถือปรัชญาความยุติธรรมทางสังคมของนัก New P.A. มีมุมมองใน 4 เรื่อง ดังนี้
– ความต้องการให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน
– ความต้องการให้นักบริหารทำงานเพื่อหลักการของความเสมอภาคทางสังคม
– ความต้องการให้มีพัฒนาระบบการบริหารเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม ที่มุ่งให้เป็นเป้าหมายขององค์การ
– การเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ผลของ New P.A. ต่อวิชา รปศ.
l ทำให้วิชา รปศ. มีแนวทางการศึกษาใหม่ โดยหันมายึดถือปรัชญาแบบปรากฎการณ์วิทยาและให้ความสำคัญเรื่องค่านิยมมากขึ้น (GOAL ORIENTED)
l ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของนักวิชาการทาง รป.ศ. รุ่นใหม่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสนอทฤษฎีและแนวคิดทาง รปศ.ในยุคต่อมา
l หน่วยงานภาครัฐและนักบริหารหันมาให้ความสนใจต่อความต้องการของลูกค้า และ ความยุติธรรมทางสังคมมากขึ้น (GOAL ORIENTED)
หลักการบริหารที่ดีนั้น มีความเป็นสากล ใช้ได้ทุกองค์การและสถานการณ์ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
จบเนื้อหาเพียงเท่านี้ ขอให้โชคดีในการสอบ อาจารย์จุมพล เจียระพงษ์