วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์

พัฒนาการของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์
l สมัยทฤษฎีดั้งเดิม
l สมัยทฤษฎียุคพฤติกรรมองค์การ-พฤติกรรมศาสตร์หรือวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งแรก
l สมัยทฤษฎียุคหลังพฤติกรรมศาสตร์หรือวิกฤติการณ์ด้านเอกลักษณ์ครั้งที่สอง
l สมัยทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่
ทฤษฎีและแนวการศึกษาสมัยดั้งเดิม
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ
l การบริหารแยกออกจากการเมือง
l องค์การระบบราชการ
l วิทยาศาสตร์การจัดการ
l หลักการบริหาร
ทฤษฎีและแนวการศึกษายุคพฤติกรรม
l การบริหารคือการเมือง
l องค์การแบบไม่เป็นทางการ
l มนุษยสัมพันธ์
l ศาสตร์การบริหาร
ทฤษฎีและแนวการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ยุคใหม่
สภาพการณ์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์
· ความเสื่อมศรัทธาต่อความถูกต้องของทฤษฎียุคดั้งเดิม
· การขาดเอกลักษณ์ของวิชา รปศ. ซึ่งเป็นที่ยอมรับ
· การขาดทางออกเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการจัดการกับปัญหาทางการบริหาร
· การเปลี่ยนแปลงทางด้านเนื้อหาและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์
ผลของการปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์
l มีความสนใจในการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์มากกว่าการศึกษาสถาบันทางการเมืองและรัฐบาล
l นักวิชาการทาง รปศ.ได้มีความสนใจศึกษาวิชาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหาร ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
l มีการรับเอาหลักการและกระบวนการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา รปศ.
l มีการให้ความสนใจกับความเป็นวิทยาศาสตร์ของ รปศ. มากกว่าการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสังคม (Mean ort.)
l สนใจศึกษาปัจจัยนำเข้าของระบบการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องของประชาชน (พฤติกรรม)มากกว่าปัจจัยนำออก (นโยบาย) ซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร
สรุปผลของแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ที่มีต่อการศึกษา รปศ.
l มีการประยุกต์ทฤษฎีระบบมาใช้ในกระบวนการศึกษาและการพัฒนาเทคนิคทางการบริหาร
l มีการให้ความสนใจในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับระบบราชการและการบริหารงานระหว่างประเทศ
ทฤษฎีระบบในวิชารัฐประศาสนศาสตร์
บทบาทของทฤษฏีระบบต่อ รปศ.
l ความคิดเรื่องระบบได้กลายเป็นแนวการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์การที่สำคัญ
l ความคิดเรื่องระบบได้ช่วยวางพื้นฐานในการพัฒนาเทคนิคการบริหารต่างๆ
ความคิดระบบในทฤษฎีองค์การ
l องค์การคือระบบหรือกลุ่มของระบบย่อยที่เกี่ยวพันและส่งผลต่อกัน
l แม้กระบวนการดำเนินงานขององค์การจะเป็นเอกเทศแต่จะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่ง
l หน้าที่ขององค์การ คือ การตอบสนอง และรักษาดุลยภาพระหว่างองค์การและสภาพแวดล้อม
ความคิดระบบของ Simon และ March
l กระบวนการตัดสินใจในองค์การเป็นกระบวนการระบบ
l องค์การเป็นระบบใหญ่ที่เป็นที่รวมของระบบย่อย
l โครงสร้างหน้าที่ขององค์การมีพื้นฐานมาจากมนุษย์ และเป็นที่รวมของมนุษย์ ซึ่งตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมตลอดเวลา
l การศึกษากระบวนการตัดสินใจของคนในองค์การจะต้องทำความเข้าใจถึงระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลในองค์การ

ความคิดระบบของ Katz และ Kahn
l องค์การเป็นระบบเปิดที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม
l องค์การเป็นที่รวมของพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและคงที่
l พฤติกรรมของคนในองค์การจึงมีลักษณะที่มีเสถียรภาพและสามารถศึกษาเป็นวงจรได้
l องค์การคงอยู่ได้เพราะประกอบด้วยระบบย่อยที่แบ่งหน้าที่กันทำงานและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ความคิดระบบของ James D. Thompson
แนวคิดพื้นฐาน
l ใช้องค์การเป็นหน่วยวิเคราะห์ โดยมุ่งศึกษาพฤติกรรมขององค์การ มากกว่าพฤติกรรมของสมาชิกภายในองค์การ
l มุ่งหาคำตอบว่า องค์การมีการปรับตัวต่อความไม่แน่นอน อันเกิดจากเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมอย่างไร
l ยึดหลักสำคัญว่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดโครงสร้างขององค์การ คือ เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การของ Thompson
l องค์การเป็นระบบเปิดที่ทำงานในสภาพที่ไม่แน่นอน
l องค์การพยายามดำเนินงานโดยใช้ความมีเหตุผล เพื่อเป็นการสร้างแน่นอนในการทำงาน
l องค์การจะต้องคอยปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
l องค์การจะจัดการกับความไม่แน่นอนโดยการแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเทคนิค ส่วนจัดการ และส่วนสถาบัน
l องค์การจะมีการสร้างอาณาเขต (Domain) ของตนว่า จะทำงานด้านใด เพื่อใคร และเสนอบริการอะไรบ้าง
l อาณาเขตจะเป็นตัวกำหนดว่า องค์การจะต้องพึ่งพาส่วนใดของสภาพแวดล้อม
l สภาพแวดล้อมที่มีส่วนต่อการกำหนดเป้าหมายและการบรรลุเป้าหมาย เรียกว่าสภาพแวดล้อมของงาน
l องค์การที่มีเหตุผลจะทำให้ตนพึ่งพาสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยใช้กลยุทธ์ ดังนี้
- การสร้างทางเลือกให้กับองค์การ
- การสร้างชื่อเสียงและการยอมรับให้กับองค์การ
- การสร้างอำนาจต่อรองกับสภาพแวดล้อมของงาน
l เพื่อสร้างความแน่นอนในการทำงานของส่วนเทคนิคองค์การจะพยายามแยกส่วนการผลิตออกจากสภาพแวดล้อมภายนอกโดยใช้กลยุทธ์ดังนี้
– สร้างกันชน
– เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
– ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
– จัดลำดับความสำคัญของสภาพแวดล้อม
– การสร้างกันชน เป็นการสร้างระบบเพื่อรองรับหรือชะลอผลกระทบจากสภาพแวดล้อม เช่น การสำรองวัตถุดิบในการผลิตไว้จำนวนหนึ่ง
– การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เป็นการปรับแนวทางการจัดบริการ เพื่อจูงใจหรือเปลี่ยนพฤติกรรมของสภาพแวดล้อม(ผู้ใช้บริการ)ให้เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการ
– การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เป็นการปรับแนวทางการบริหารหรือการจัดบริการขององค์การให้สอดคล้องกับความต้องการของสภาพแวดล้อม(กลุ่มเป้าหมาย)
– การจัดลำดับความสำคัญของสภาพแวดล้อม เป็นการกำหนดหรือจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายหรือภารกิจหลักที่องค์การจะให้ความสำคัญมาก-น้อย/ก่อน-หลัง
l องค์การจะพยายามป้องกันอาณาเขตของตนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
– การชดเชยด้วยการบีบคั้นสภาพแวดล้อมส่วนอื่นแทน เช่น การต่อรองราคาต้นทุนกับผู้ผลิต เพื่อนำมาลดราคาสินค้าให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น
– การขยายสภาพแวดล้อมของงานออกไป(ขยายฐานกลุ่มเป้าหมาย) เช่น มหาวิทยาลัยก็มีการขยายเข้าสู่กลุ่มเด็ก กลุ่มคนทำงาน (ต่อเนื่อง) กลุ่มชุมชน
l การออกแบบองค์การเพื่อลดความไม่แน่นอนในการทำงาน ตัวอย่างคือ การสร้างหรือผนวกกิจกรรมที่จำเป็นในการบริหารงานขององค์การหรือที่ต้องพึ่งพาสภาพแวดล้อมไว้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ เช่น มหาวิทยาลัยได้จัดบริการศูนย์จำหน่ายหนังสือ และบริการด้านหอพักแก่นิสิต โรงแรมต้องมีไนท์บาร์บริการลูกค้า เป็นต้น
การขยายอาณาเขตขององค์การ
ลักษณะการผลิต (เทคโนโลยี) ขององค์การจะเป็นปัจจัยกำหนดการออกแบบหรือการขยายอาณาเขตขององค์การ ดังนี้
l องค์การที่มีเทคโนโลยีแบบสายการผลิต จะขยายอาณาเขตของตนโดยขยายกิจกรรมเข้าไปในแนวตั้ง (เชิงลึก)
l องค์ที่มีระบบการผลิตแบบเป็นตัวกลาง จะขยายอาณาเขตของตนโดยการขยายวง(ฐาน)ของลูกค้า เช่น การตั้งสาขา
l องค์การที่ใช้เทคโนโลยีหลายแบบและการทำงานขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก จะขยายอาณาเขตโดยการดึงปัจจัยภายนอกให้มาอยู่ในอาณาเขตขององค์การ เช่น มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีกับรูปแบบการประสานงาน
l ลักษณะเทคโนโลยีขององค์การจะมีส่วนทำให้หน่วยงานย่อยในองค์การต้องพึ่งพากันใน 3 ลักษณะ คือ
– การพึ่งพากันในส่วนรวม แต่ละหน่วยเป็นอิสระ แต่ผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยจะส่งผลต่อส่วนรวม
– การพึ่งพากันตามลำดับ แต่ละหน่วยจะอาศัยผลผลิตจากอีกหน่วยหนึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าต่อเนื่องไปเป็นลำดับ
– การพึ่งพาระหว่างกันและกัน ผลผลิตของแต่ละหน่วยจะเป็นปัจจัยนำเข้าที่จะใช้ในการผลิตของหน่วยอื่นๆ
l การพึ่งพาแต่ละรูปแบบ จะทำให้องค์การต้องใช้วิธีการประสานงานที่แตกต่างกัน ดังนี้
– การพึ่งพากันในส่วนรวม จะประสานงานโดยการสร้างมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล
– การพึ่งพากันตามลำดับ จะประสานงานโดยการวางแผนกำหนดขั้นตอนและตารางการทำงานให้สอดคล้องกัน
– การพึ่งพาระหว่างกันและกัน จะประสานงานโดยการร่วมกำหนดความต้องการระหว่างกันและกัน
สภาพแวดล้อมกับรูปแบบโครงสร้างองค์การ
สภาพแวดล้อมขององค์การจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบโครงสร้างขององค์การดังนี้
กลมกลืน
หลากหลาย
มีเสถียรภาพ
มีการเคลื่อนไหว
- หน่วยงานลักษณะคล้ายกัน
- จำนวนน้อย
-ใช้กฎเกณฑ์สากลในการทำงาน
- หน่วยงานลักษณะคล้ายกัน
- จำนวนน้อย
-ลดกฎเกณฑ์สากลในการทำงาน

- หน่วยงานลักษณะแตกต่าง
- จำนวนมาก
-ใช้กฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วย
- หน่วยงานลักษณะแตกต่าง
- จำนวนมาก
-กระจายอำนาจการตัดสินใจ ให้แต่ละหน่วย

ทฤษฎีระบบในเทคนิคการบริหาร
l ในการศึกษา รปศ. ได้นำหลักการหรือเทคนิคทางสาขาวิชาอื่นๆโดยเฉพาะการบริหารมาใช้ในการศึกษาเรื่องการบริหารงานภาครัฐ
l มีการศึกษาและพัฒนาเทคนิคทางการบริหารต่างๆ เช่น MBO PERT รวมทั้งเทคนิคทางการบริหารที่มีพื้นฐานจากแนวคิดเชิงระบบ เช่น PPB เป็นต้น
วิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ
แนวคิดพื้นฐาน
l ความล่มสลายของทฤษฎีหลักการบริหารที่อ้างว่าใช้ได้กับทุกสังคมและทุกสถานการณ์
l ลักษณะเฉพาะทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดลักษณะการบริหารงานภาครัฐของแต่ละประเทศ
l อิทธิพลของแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เน้นการแสวงหาทฤษฎีหรือหลักการ ในการอธิบายปรากฎการณ์ทางการบริหาร โดยศึกษาเปรียบเทียบเชิงประจักษ์จากข้อเท็จจริง
แนวการศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ
l Regime Analysis
l Prismatic - Sala Model
l Weberian Model
l Almond - Powell Model
l Development Administration
แนวการวิเคราะห์ระบอบการปกครอง
l มุ่งศึกษาเปรียบเทียบระบบราชการภายใต้ระบบการเมืองหรือระบอบการปกครองของประเทศต่างๆ
l ถือว่าระบบราชการคือโครงสร้างหรือเครื่องมือทางการบริหารของรัฐที่สำคัญอันหนึ่งในทุกระบอบ
l การศึกษาเปรียบเทียบระบบราชการจะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างเชิงโครงสร้าง-หน้าที่ของระบบ (Strutural-Functional App.)
l ประเด็นการศึกษาจะมุ่งหาคำตอบเกี่ยวกับลักษณะของระบบ การทำหน้าที่ของระบบ และการถูกควบคุมของระบบ
l ปัจจัยที่มีส่วนในการกำหนดรูปร่างของระบบราชการ คือ ลักษณะของระบบการบริหารของประเทศ และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
l ลักษณะของระบบการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าระบบราชการของแต่ละประเทศจะมีลักษณะอย่างไร และจะถูกควบคุมจากกลไกภายนอกเพียงใด
ลักษณะของระบบราชการภายใต้ระบบการเมือง
l ระบบเผด็จการแบบประเพณีนิยม เป็นระบบการปกครองที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการทำงานให้ฝ่ายปกครอง
l ระบบข้าราชการเป็นผู้นำ เป็นระบบที่อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของข้าราชการ และเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ ระบบราชการมีความเข้มแข็งและผูกขาดอำนาจ มักจะยึดประเพณีปฏิบัติในการทำงานมากกว่าผลสำเร็จของงาน
l ระบบประชาธิปไตยแบบแข่งขัน มีการแข่งขันกันทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ การบริหารงานของรัฐบาลจะเน้นเป้าหมายระยะสั้นเพื่อเอาใจกลุ่มต่างๆ ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล
l ระบบกึ่งแข่งขันทางการเมือง เป็นระบบที่ฝ่ายบริหารและผู้นำทางการเมืองเข้มแข็ง มีอำนาจเด็ดขาดทางการเมือง ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการบริหารและเข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบาย
l ระบบผู้นำทางการเมือง เป็นระบบการปกครองที่ผู้นำของประเทศมีความสามารถและมีบารมีเฉพาะตัวที่ประชาชนศรัทธา ระบบราชการมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ข้าราชการเป็นผู้มีความสามารถและมีบทบาททางการบริหารประเทศ
l ระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เป็นระบบที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียวและใช้วิธีการบริหารแบบเผด็จการ ระบบราชการมีความลับและซับซ้อน มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามนโยบายด้วยความจงรักภักดี
Prismatic-Sala Model
l เป็นการศึกษาเปรียบเทียบระบบราชการโดยทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาเป็นหลัก
l ใช้แนวทางการศึกษาในเชิงโครงสร้างและหน้าที่ เพื่อจำแนกระดับการพัฒนาของสังคมหรือประเทศ โดยอาศัยหลักการในการทำให้แตกต่าง และการบูรณาการเป็นมิติในการพิจารณา
l ประเทศที่พัฒนาแล้วจะประกอบด้วยโครงสร้างการบริหารจำนวนมากในการทำหน้าที่เฉพาะเรื่อง ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะมีโครงสร้างจำนวนน้อยเพื่อทำหลายหน้าที่ไปพร้อมกัน
l นอกจากการใช้มิติเรื่องความแตกต่างที่ใช้จำแนกระดับการพัฒนาแล้ว ยังมีการใช้มิติเรื่องการบูรณาการของโครงสร้าง-หน้าที่มาพิจารณาประกอบด้วย
l ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนา นอกจากจะมีโครงสร้างการบริหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเรื่องจำนวนมากแล้ว ยังต้องมีการบูรณาการอย่างกลมกลืนของโครงสร้างดังกล่าวด้วย
l สังคมที่พัฒนาแล้วเรียกว่า Diffracted และสังคมกำลังพัฒนาเรียกว่า Fused
l มีสังคมกำลังพัฒนาบางสังคม ที่เรียกว่า Prismatic ซึ่งมีการจัดองค์การและรูปแบบการบริหารที่ทันสมัยแต่ทำงานอย่างยึดถือรูปแบบดั้งเดิม เป็นสภาพการณ์ที่เรียกว่า ความเป็นทางการจอมปลอม
l ระบบราชการที่มีลักษณะความเป็นทางการจอมปลอมนี้ เป็นลักษณะสำคัญของระบบการบริหารในประเทศที่มีสังคมแบบ Prismatic และเรียกระบบราชการในรูปแบบนี้ว่า Sala
ลักษณะของระบบราชการแบบ Sala
l ระบบราชการเข้มแข็งและมีอำนาจมาก มีการเติบโตกว่าระบบการเมือง ข้าราชการจึงเข้าไปมีบทบาท (เข้าไปมีตำแหน่ง/มีอำนาจเหนือ)ในทางการเมือง
l เมื่อระบบราชการมีอำนาจทางการเมืองมาก จึงทำให้มีการผูกขาดอำนาจในการบริหารประเทศ เกิดการทุจริต ความด้อยประสิทธิภาพ และความไม่เป็นธรรมในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
l วิธีการทำงานของข้าราชการ มีความคละเคล้ากันระหว่างประเพณีแบบเดิมและหลักการสมัยใหม่
รัฐประศาสนศาสตร์ ในความหมายใหม่
New Public Administration
พัฒนาการของ New P.A./Post-behaviorism
l มีการเรียกร้องของนักวิชาการทางสังคมศาสตร์ ให้วิชาทางสังคมศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงทางสังคมมากยิ่งขึ้น
l มีการต่อต้านแนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ ที่เน้นเรื่องปรัชญาและวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ หรือการพัฒนาทฤษฎีและหลักวิชาการจนทำให้วิชาทางสังคมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงในการทำความเข้าใจกับโลกความเป็นจริง
พัฒนาการของ New P.A./Post-behaviorism
l ให้หันมาเน้นการศึกษาเรื่องค่านิยมและการทำความเข้าใจปรากฎการณ์ความเป็นจริง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม
แนวคิดของ New P.A.
l มุมมองของ John Rehfuss สรุปแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ New P.A. ไว้ 3 ประการคือ
– การบริหารงานของรัฐต้องยึดหลักความยุติธรรมในสังคม เพื่อความเสมอภาคของคนทุกกลุ่ม
– องค์การหรือหน่วยงานต้องให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ
– นักบริหารต้องเป็นผู้ทำงานด้วยความกระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบต่อการสนับสนุนความยุติธรรมในสังคม
l Allen Schick เห็นว่า New P.A. เปรียบได้กับความพยายามในการแสวงหาทฤษฎีทางการเมืองใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งเป็นเรื่องของการเมือง โดยมีหลักคือ
– การศึกษาปัญหาและเรื่องราวต่างๆ ในโลกความเป็นจริง
– การเน้นเรื่องค่านิยมและสิ่งที่ควรจะเป็น (Normative)
– การสนับสนุนความยุติธรรมทางสังคมและการบริการประชาชน
– การสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การเพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจทางการเมืองและการบริหาร
สรุปแนวคิดของ New P.A.
l New P.A. ยึดถือหลักปรัชญาแบบปรากฎการณ์วิทยาแทน ปฏิฐานนิยมเชิงตรรกวิทยา ที่ถือหลักว่าค่านิยมแยกจากข้อเท็จจริง จึงสามารถใช้การศึกษาเชิงประจักษ์ เพื่อแสวงหากฎของธรรมชาติจากข้อเท็จจริงได้ โดยไม่คำนึงถึงโลกความเป็นจริงและประโยชน์ต่อสังคม
l New P.A. ต้องการให้เนื้อหาวิชาเกี่ยวข้องโดยตรงกับโลกความเป็นจริง ได้แก่ ความทันต่อสภาพการณ์ที่ผันแปร ทันต่อปัญหาในสังคม และการใช้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจโลกความเป็นจริงของนักปฏิบัติ
l ความทันต่อสภาพการณ์ของ New P.A. หมายถึง การเน้นเรื่องความยุติธรรมในสังคม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายใหม่ของแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ ที่เพิ่มเติมจากเป้าหมายทางการบริหารที่มุ่งเน้นที่ความมีประสิทธิภาพ และการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
ความยุติธรรมทางสังคม (Social Equity)
l เป็นการมองในเรื่องใดบ้าง
l ความเสมอภาคของประชาชนในการรับบริการสาธารณะ
l ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในการตัดสินใจกำหนดและดำเนินนโยบาย
l การมุ่งสนองความต้องการประชาชนมากกว่าความต้องการขององค์การ
New P.A. กับ Social Equity
l การยึดถือปรัชญาความยุติธรรมทางสังคมของนัก New P.A. มีมุมมองใน 4 เรื่อง ดังนี้
– ความต้องการให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน
– ความต้องการให้นักบริหารทำงานเพื่อหลักการของความเสมอภาคทางสังคม
– ความต้องการให้มีพัฒนาระบบการบริหารเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม ที่มุ่งให้เป็นเป้าหมายขององค์การ
– การเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ผลของ New P.A. ต่อวิชา รปศ.
l ทำให้วิชา รปศ. มีแนวทางการศึกษาใหม่ โดยหันมายึดถือปรัชญาแบบปรากฎการณ์วิทยาและให้ความสำคัญเรื่องค่านิยมมากขึ้น (GOAL ORIENTED)
l ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของนักวิชาการทาง รป.ศ. รุ่นใหม่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสนอทฤษฎีและแนวคิดทาง รปศ.ในยุคต่อมา
l หน่วยงานภาครัฐและนักบริหารหันมาให้ความสนใจต่อความต้องการของลูกค้า และ ความยุติธรรมทางสังคมมากขึ้น (GOAL ORIENTED)
หลักการบริหารที่ดีนั้น มีความเป็นสากล ใช้ได้ทุกองค์การและสถานการณ์ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
จบเนื้อหาเพียงเท่านี้ ขอให้โชคดีในการสอบ อาจารย์จุมพล เจียระพงษ์

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอหนังสืออ้างอิง เพื่อนำไปขยายความครับ

ลักษณะของระบบราชการภายใต้ระบบการเมือง
l ระบบเผด็จการแบบประเพณีนิยม เป็นระบบการปกครองที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการทำงานให้ฝ่ายปกครอง
l ระบบข้าราชการเป็นผู้นำ เป็นระบบที่อำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของข้าราชการ และเป็นผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ ระบบราชการมีความเข้มแข็งและผูกขาดอำนาจ มักจะยึดประเพณีปฏิบัติในการทำงานมากกว่าผลสำเร็จของงาน
l ระบบประชาธิปไตยแบบแข่งขัน มีการแข่งขันกันทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ การบริหารงานของรัฐบาลจะเน้นเป้าหมายระยะสั้นเพื่อเอาใจกลุ่มต่างๆ ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล
l ระบบกึ่งแข่งขันทางการเมือง เป็นระบบที่ฝ่ายบริหารและผู้นำทางการเมืองเข้มแข็ง มีอำนาจเด็ดขาดทางการเมือง ระบบราชการเป็นเครื่องมือในการบริหารและเข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบาย
l ระบบผู้นำทางการเมือง เป็นระบบการปกครองที่ผู้นำของประเทศมีความสามารถและมีบารมีเฉพาะตัวที่ประชาชนศรัทธา ระบบราชการมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ข้าราชการเป็นผู้มีความสามารถและมีบทบาททางการบริหารประเทศ
l ระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เป็นระบบที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียวและใช้วิธีการบริหารแบบเผด็จการ ระบบราชการมีความลับและซับซ้อน มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามนโยบายด้วยความจงรักภักดี

quantinnarabun กล่าวว่า...

Slots & Casino Locations | Mapyro
Find the closest casino 여수 출장샵 to you in Las 천안 출장마사지 Vegas with Mapyro. Use your filters to filter by 양산 출장안마 which slot machines to 충청남도 출장샵 find best. Try your luck at your favorite 하남 출장샵 slots now.